วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับเด็กอนุบาล

 

บทความเกี่ยวกับเด็กอนุบาล

การเสริมทักษะในด้านต่างๆนอกจากด้านการศึกษา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับในปัจจุบัน เืพื่อที่จะทำให้เด็กๆมีความสามารถหลากหลาย หรือเป็นการสนับสนุนสิ่งที่เด็กชอบหรือถนัด เช่น การวาดรูป เล่นดนตรี ร้องเพลง รำไทย เป็นต้น และยังมีสิ่งที่ช่วยเสริมทักษะด้านร่างกายสำหรับเด็กเล็ก เด็กอนุบาล นั่นคือการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาส่วนใหญ่ควรจะต้องฝึกฝนตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เช่น กอล์ฟ ฟุตบอล ยิมนาสติก ว่ายน้ำ โดยเฉพาะกีฬาว่ายน้ำนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญที่อาจจะทำให้เด็กๆสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
การเตรียมตัวเด็กอนุบาลเพื่อสอบเข้า ป.1

การเสริมทักษะอื่นให้กับเด็กอนุบาลและเด็กประถม

การเสริมทักษะอื่นๆให้กับเด็กเล็ก เด็กอนุบาล เด็กประถม

1. การร้องเพลงและเคลื่อนไหวเข้าจังหวะั

การร้องเพลงเ็ป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในการเสริมทักษะให้กับเด็ก นอกจากจะทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกการออกเสียง การอ่านให้กับเด็กได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะแทรกหรือเสริมคำศัพท์ คำอธิบาย เกี่ยวกับเนื้อเพลงที่เป็นประโยชน์ให้กับเด็ก อีกทั้งยังสามารถฝึกให้เด็กสามารถออกเสียง หรือสะกดคำให้ถูกต้อง ซึ่งการเสริมความรู้นี้ เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัต
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกเพลงที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก เช่น เพลงเกี่ยวกับตัวอักษร เพลงเกี่ยวกับคำศัพท์ไทยหรืออังกฤษ เพลงเกี่ยวกับตัวเลข สูตรคูณ เพลงเกี่ยวกับสี เพลงเกี่ยวกับวันในสัปดาห์ เพลงเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กทั้งในการออกเสียง และยังเป็นการเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ในชั้นเรียนอีกด้วย
การร้องเพลงยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จับบังคับให้ออกเสียงไปตามทำนองที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิของเด็กเองในทางอ้อม และยังสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออกให้กับเด็กอีกด้วย
การเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะหรือการเต้นรำ ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งควรทำประกอบกับการร้องเพลง ทำให้เด็กมีความสนุกสนามมากขึ้น และยังเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะ ยังสอนให้เด็กพัฒนาการควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งสมองและกล้ามเนื้อ และมีหลายๆเพลงที่สอนให้เด็กเคลื่อนไหว เช่น หันไปทางขวาและทางซ้าย ชูมือขึ้นและหมุน ปรบมือเป็นจังหวะ หรือแม้กระทั้งการเต้นเป็นทีมประกอบเพลง
2. การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ
การเล่นกีฬาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะเด็กในวัยนี้อยู่ในวัยที่กำลังพัฒนาร่างกายทุกส่วน การได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่เหมาะสม จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางกายภาพที่ดีในอนาคต และเป็นส่วนช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากขึ้น เพราะร่างกายแข้งแรง ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้
อีกทั้งการเล่นกีฬาย้งอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ค้นพบความสามารถพิเศษของเด็ก ซึ่งควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะนัำกกีฬาที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ต้องเริ่มเล่นกีฬามาตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ไทเกอร์ วูดส์ ภารดร หรือ แทมมี่
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกกีฬาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกีฬาบางอย่างอาจจะต้องอาศัยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง หรือมีการกระแทกมากเกินไป กีฬาบางชนิดอาจจะต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิด จากคุณพ่อคุณแม่ เช่น การขี่จักรยาน กีฬาว่ายน้ำ
โดยเฉพาะการว่ายน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือคุณครูสอนว่าย ทำการสอนการว่ายน้ำให้กับเด็ก เพราะครูสอนว่ายน้ำจะมีเทคนิคและวิธีการสอน ที่ทำให้เด็กคุ้นเคยกับน้ำ คุณพ่อคุณแม่อาจจะทำการสอนว่ายน้ำให้กับลูกท่านเองได้ แต่ควรระวังอย่าทำให้เด็กกลัวน้ำตั้งแต่ต้น เพราะจำทำให้เด็กเกิดความกลัวฝังใจ และจะเป็นการยากที่จะสอนว่ายน้ำให้กับเด็กในอนาคต ผู้เขีัยนขอแนะนำให้เด็กๆทุกคนมีโอกาสที่จะว่ายน้ำ และรู้จักการว่ายน้ำที่ถูกต้อง เพราะการว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด และยังสามารถทำให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ระัดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการไม่คาดคิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นจากประสบการณ์เด็กส่วนใหญ่ชอบการเล่นน้ำ ดังนั้นบางครั้งเราอาจจะไม่สามารถดูแลเด็กได้ตลอดเวลา เขาอาจจะไปเล่นน้ำโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ การที่เด็กว่ายน้ำเป็น ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เบาใจได้ว่าเด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนและเน้นย้ำเกี่ยวกับอันตรายทางน้ำให้กับเด็ก จากสถิติและข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ การตายของเด็กส่วนหนึ่งก็มาจากอุบัติเหตุทางน้ำนั้นเอง
เกมต่างๆก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เขียนแนะนำให้เด็กมีโอกาสได้เล่น เกมในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึงเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในความคิดของผู้เขียน คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ควรให้เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ตราบใดที่เด็กยังไม่มีวุฒิภาวะหรือการรับรู้สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ที่ดีพอ ในความเห็นของผู้เขียนคุณพ่อคุณแม่ควรจะรอให้เด็กโตอีกระดับหนึ่งประมาณ 10 ขวบขึ้นไป จึงจะเหมาะสมที่จะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เพราะผู้เขียนเป็นห่วงเรื่องการควบคุมเด็ก การใช้เวลาที่เหมาะสม
เกมที่เราจะกล่าวถึงในที่นี้ เป็นเกมง่ายๆธรรมดา เช่น เกมฝึกสมอง เกมกระดาน หรือเกมสมมติ เช่น การเล่นขายของ การเล่นเป็นพ่อแม่ลูก การเล่นเป็นหมอและนางพยาบาล แน่นอนว่าเกมฝึกสมองต่างๆ และเกมกระดาน เช่น หมากฮอลส์ เกมเศรษฐี เหล่านี้จะเป็นการเสริมการพัฒนาการของเด็ก ทั้งในเรื่องความคิด ทักษะการคิดเลข การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่เล่นเกม ความอดทนรอคอย
ส่วนเกมที่เป็นบทบาทสมมติ เช่น การเล่นขายของ การเล่นเป็นพ่อแม่ลูก ก็เป็นการเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะพบความคิดของเด็ก ที่มีต่อครอบครัว หรือปัญหาต่างๆในใจของเด็ก จากการเล่นเกมสมมตินี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นเกมเหล่านี้กับลูกของท่าน เพื่อที่จะสอดแทรกบทเรียนจากชีวิตจริงลงไป เช่น การเล่นพ่อแม่ลูก เราสามารถที่จะสอดแทรกหน้าที่ของคุณพ่อ หน้าที่ของคุณแม่ และหน้าที่ของคุณลูกที่ควรจะทำ เพื่อให้ครอบครัวมีความสุข การเล่นขายของเรายังสามารถสอนให้เด็กรู้จักการทำงาน ขยันทำงาน รู้จักค่าของเงินที่ได้มาจากการทำงาน
3. การวาดรูป ระบายสี
การวาดรูป ระบายสีเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยในการพัฒนาการทางด้านจินตนาการของเด็ก อย่างที่เราทราบกันว่าสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของความคิดที่เป็นเหตุผม (Logic) และส่วนที่เป็นความคิดทา่งด้านจินตนาการ (Imgaination) การวาดรูป ระบายสีก็จะทำให้เด็กสามารถแสดงจินตนาการออกมา คุณพ่อคุณแม่จะพบว่าจินตนาการของเด็กจะกว้างไกลอย่างคาดไม่ถึง การเปิดโอกาสให้เด็กวาดรูป ยังสามารถศึกษาว่าเด็กมีความคิดอย่างไร นักจิตวิทยายังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็ก ผ่านจากรูปที่เด็กวาดออกมาจากจินตนการ
ยิ่งไปกว่านั้นคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสอดแทรกความรู้ต่างๆได้ในการวาดรูป เช่น การแยกแยะสี เช่นสีไหนคือสีแดง สีไหนคือสีเขียว ความรู้ด้านรูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม ข้อดีอีกย่างหนึ่งของการวาดรูป ระบายสี คือจะสร้างให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ดินสอ การเขียน การควบคุมมือ ควบคุมดินสอให้วาดสิ่งต่างๆตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับทักษะการเขียนในอนาคต

ครูจะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างไร

ดย วิวรรณ สารกิจปรีชา
สิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มีหลายอย่าง เช่น

  • เวลา เด็กๆต้องการเวลาที่เพียงพอ ไม่เร่งรีบ ในการสำรวจและทำงานให้ออกมาดีที่สุด ดังนั้นการให้เด็กทำกิจกรรมที่หมุนเวียนไปตามฐานตามเวลาที่กำหนดนั้นจึงไม่ เหมาะสมนัก เด็กๆควรมีเสรีภาพที่จะเลือกทำกิจกรรม และใช้เวลาในกิจกรรมที่สนใจตามความต้องการของเด็กๆเอง
  • พื้นที่ เด็กๆควรจะมีที่ๆ เหมาะสมในการจัดวางงานที่ยังทำไม่เสร็จเพื่อจะมาต่อเติมได้ในวันต่อไป และเด็กๆยังต้องการพื้นที่ที่เพียงพอที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กทำงานให้ได้ดี ที่สุด พื้นที่ที่เหมาะสมควรมีแสงสว่างตามธรรมชาติ สีที่ไม่ฉูดฉาดไม่ลายตา พื้นที่ที่เด็กๆจะสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย มีผลงานตัวอย่างของเด็กๆกันเอง และของครู รวมถึงของจิตรกรชื่อดังด้วยก็ได้ติดอยู่ในห้องเรียน และที่สำคัญคือครูควรจัดให้มีสื่อที่หลากหลาย เชิญชวนให้อยากสำรวจ สืบค้น ใช้ทำการทดลอง หรือประดิษฐ์หรือทำงานในรูปแบบต่างๆ
  • สื่อ สื่อไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่จัดซื้อมาด้วยเงินจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นของที่มีราคาแพง แต่อาจจะเป็นสื่อที่สะสมมาเรื่อยๆ เช่น สิ่งที่ทำจากกระดาษทุกอย่าง เครื่องมือในการเขียนและในการวาดภาพต่างๆ กระดาษสี เศษผ้าต่างๆ กระดุม หิน กรวด เปลือกหอย ลูกปัด เมล็ดพืช แป้งโด กาว ดินเหนียว ครีมโกนหนวด เป็นต้น เด็กๆสามารถนำสื่อเหล่านี้ไปใช้ได้หลายๆรูปแบบ ทั้งนี้ สื่อเหล่านี้จะเป็นที่สนใจของเด็กๆและถูกใช้อย่างหลากหลายวิธีการมากขึ้น เมื่อเด็กๆมีส่วนร่วมในการสะสม จัดวาง แยกประเภท เก็บเข้าที่เป็นระเบียบด้วย
  • บรรยากาศ ห้องเรียนต้องมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการส่งเสริมให้เด็กๆรู้สึกได้ถึงการ ยอมรับความผิดพลาดและการสนับสนุนให้เด็กๆเสี่ยงที่จะทำผิดพลาดและไม่สำเร็จ ได้โดยไม่ถูกต่อว่าหรือประเมินโดยผู้อื่น การส่งเสริมให้คิดค้นสิ่งใหม่ๆวิธีใหม่ๆที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนเดิม รวมถึงการยอมรับการเปรอะเปื้อน เสียง และเสรีภาพตามสมควรและเหมาะสมตกลงยอมรับกันได้ ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับผู้ปกครอง ผู้ช่วยครูและบุคคลอื่นๆที่เข้ามาช่วยในห้องเรียน
  • โอกาส เด็กๆจะมีผลงานที่น่าสนใจได้ต่อเมื่อเด็กๆได้รับการกระตุ้น หรือรู้สึกมีส่วนร่วมอย่างมากในการค้นพบสิ่งต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและนอก เหนือจากชีวิตประจำวันที่น่าสนใจน่าตื่นเต้นสำหรับเด็กๆ ครูจะต้องเป็นผู้ช่วยจัดให้เด็กๆได้รับโอกาสดังกล่าวนี้ เช่น การพาเด็กไปชมละครหรือการแสดงต่างๆ หรือการพาไปทัศนศึกษา การสำรวจสืบค้นนอกสถานที่หรือ สำรวจสังเกตต้นไม้ที่น่าสนใจหรือสัตว์ที่นำมาในห้องเรียนเป็นต้น ทั้งนี้ เด็กๆอาจจะพิจารณาสิ่งที่เด็กๆวาดกับของจริงและประเมินแก้ไขเพิ่มเติมด้วย ตัวเด็กเอง ครูต้องงดให้ความเห็นใดๆกับผลงานของเด็กๆด้วย


         ที่มา :  http://www.preschool.or.th/journal_create_teacher.html